เมนู

บทว่า น ยาเปติ มีความว่า นัยว่า ช่างหม้อนั้นถูกภิกษุฉัพพัคคีย์
เหล่านั้นรบกวนอย่างนี้ ถ้าจักไม่ได้เป็นพระอริยสาวกแล้ว คงจักถึงความ
เสียใจเป็นอย่างอื่นไปก็ได้. แต่เพราะเขาเป็นโสดาบัน ตัวเองอย่างเดียว
เท่านั้นไม่พอเลี้ยงชีพ. เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า
แม้ตนเองก็ไม่พอครองชีพ แม้บุตรภรรยาของเขาก็ลำบาก.

[อธิบายบาตรที่มีผูกหย่อน 5 แห่งเป็นต้น]


ใน บทว่า อูนปญฺจพนฺธเนน นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- บาตรที่
ชื่อว่า มีที่ผูกหย่อน 5 แห่ง เพราะมีแผลหย่อน 5 แห่ง. อธิบายว่า
บาตรนั้นมีแผลยังไม่ครบเต็ม 5 แห่ง. มีบาตร มีแผลหย่อน 5 นั้น.
(บทนี้เป็น) ตติยาวิภัตติ ลงในลักษณะแห่งอิตถัมภูต, ในพากโยปัญญาส
นั้น แม้บาตรยังไม่มีแผล จะมีแผลครบ 5 แห่ง ไม่ได้ เพราะยังไม่มี
โดยประการทั้งปวง; ฉะนั้น ในบทภาชนะพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
คำว่า อพนฺธโน วา เป็นต้น และเพราะตรัสคำว่า มีแผลหย่อน 5 แห่ง
ดังนี้ ภิกษุใดมีบาตรมีแผลครบ 5 แห่ง. บาตรนั้นของภิกษุนั้น ไม่จัด
เป็นบาตร; เพราะฉะนั้น จึงควรขอบาตรใหม่ได้. ก็เพราะขึ้นชื่อว่าแผล
นี้เมื่อมีท่าจะมีแผล จึงมีได้ เมื่อไม่มีท่าจะมีแผล ก็ไม่มี; ฉะนั้น เพื่อ
จะทรงแสดงลักษณะแห่งผลนั้น จึงตรัสคำว่า อพนฺธโนกาโส นาม
เป็นต้น.
คำว่า ทฺวงฺคุลราชิ น โหติ ได้แก่ ไม่มีรอยร้าวแม้รอยเดียว ยาว
ประมาณสององคุลี ภายใต้ขอบปาก.
คำว่า ยสฺส ทฺวงฺคุลราชิ โหติ มีความว่า บาตรที่มีรอยร้าวรอย

เดียวเช่นนี้ พึงเอาเหล็กเจาะบาตร เจาะที่สุดริมล่างของรอยร้าวนั้น
ระบมแล้วผูกรัดด้วยเชือกด้าย และเชือกปอเป็นต้น หรือด้วยลวดดีบุก.
พึงอุดแผลนั้นด้วยแผ่นดีบุก หรือด้วยยางสำหรับติดบางอย่างเพื่อกัน
อามิสติด. และบาตรนั้นพึงอธิษฐานไว้ใช้เถิด. อนึ่ง พึงผูกทำช่องให้
เล็ก. แต่จะยาด้วยขี้ผึ้ง ครั่ง และยางสนเป็นต้นล้วน ๆ ไม่ควร. จะ
เคี่ยวน้ำอ้อยด้วยผงหิน ควรอยู่. แต่บาตรที่ภิกษุเอาเหล็กเจาะบาตร เจาะ
ในที่ใกล้ขอบปาก จะแตก เพราะแผ่นเหล็กหนา; เพราะฉะนั้น จึง
ควรเจาะข้างล่าง. แต่สำหรับบาตรที่มีรอยร้าว 2 แห่ง หรือเพียงแห่ง
เดียวแต่ยาวถึง 4 องคุลี ควรให้เครื่องผูก 2 แห่ง. พึงให้เครื่องผูก 3
แห่งแก่บาตรที่มีรอยร้าว 3 แห่ง หรือมีเพียงแห่งเดียว แต่ยาวถึง 6
องคุลี. พึงให้เครื่องผูก 4 แห่ง แก่บาตรที่มีรอยร้าว 4 แห่ง หรือมี
เพียงแห่งเดียวแต่ยาวถึง 8 องคุลี บาตรที่รอยร้าว 5 แห่ง หรือมีเพียง
แห่งเดียวแต่ยาวถึง 10 องคุลี จะผูกก็ตาม ไม่ผูกก็ตาม ไม่จัดเป็นบาตร
เลย, ควรขอบาตรใหม่. นี้เป็นวินิจฉัยในบาตรดินก่อน.
ส่วนวินิจฉัยในบาตรเหล็ก พึงทราบดังต่อไปนี้:- ถ้าแม้นมีช่อง
ทะลุ 5 แห่ง หรือเกินกว่า, และช่องทะลุเหล่านั้นอุดด้วยผงเหล็กด้วย
หมุด หรือด้วยก้อนเหล็กกลม ๆ เป็นของเกลี้ยงเกลา, ควรใช้สอยบาตร
นั้นนั่นแล, ไม่ควรขอบาตรใหม่. แต่ถ้ามีช่องทะลุแม้ช่องเดียว แต่เป็น
ช่องใหญ่, แม้อุดด้วยก้อนเหล็กกลมๆ ก็ไม่เกลี้ยงเกลา, อามิสติดที่บาตร
ได้ เป็นอกัปปิยะ, บาตรนี้ ไม่ใช่บาตร ควรขอบาตรใหม่ได้.
สองบทว่า เถโร วตฺตพฺโพ มีความว่า ภิกษุแสดงอานิสงส์ใน

บาตรแล้ว พึงเรียนพระเถระว่า ท่านขอรับ ! บาตรใบนี้มีขนาดถูกต้อง
สวยดี สมควรแก่พระเถระ, ขอท่านโปรดรับบาตรนั้นไว้เถิด.
สองบทว่า โย น คณฺเหยฺย มีความว่า เมื่อพระเถระไม่รับไว้
เพื่ออนุเคราะห์เป็นทุกกฏ. แต่เพราะความสันโดษ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ไม่รับด้วยคิดว่า จะมีประโยชน์อะไรแก่เราด้วยบาตรใบอื่น.
บทว่า ปตฺตปริยนฺโต ได้แก่ บาตรที่เปลี่ยนกันอย่างนี้ตั้งอยู่ท้าย
สุด.
บทว่า อเทเส มีความว่า ภิกษุนั้นไม่พึงเก็บบาตรใบนั้นไว้ในที่
ไม่ควร มีเตียงตั้งร่มไม้ฟันนาคเป็นต้น. พึงเก็บไว้ในที่ที่ตนเก็บบาตรดี
ใบก่อนไว้นั่นแล. ความจริง ที่เก็บบาตร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
แล้วในขันธกะนั่นแลโดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาต
เชิงรองบาตร ดังนี้.
บทว่า น อโภเคน คือ ไม่พึงใช้บาตรโดยการใช้ไม่สมควร มี
การต้มข้าวต้มและต้มน้ำย้อมเป็นต้น. แต่เมื่อเกิดอาพาธในระหว่างทาง
เมื่อภาชนะอื่นไม่มี จะเอาดินเหนียวพอกแล้วต้มข้าวต้ม หรือต้มน้ำร้อน
ควรอยู่.
บทว่า น วิสฺสชฺเชตพฺโพ มีความว่า ไม่ควรให้แก่คนอื่น. แต่
ถ้าว่า สัทธิวิหาริกหรืออันเตวาสิกวางบาตรที่ดีใบอื่นไว้แทนถือเอาไปด้วย
คิดว่า บาตรนี้ ควรแก่เรา, บาตรนี้ควรแก่พระเถระ ดังนี้ ควรอยู่.
หรือภิกษุอื่นถือเอาบาตรใบนั้นแล้วถวายบาตรของตน ก็ควร. ไม่มีกิจที่
ต้องกล่าวว่า เธอจงเอาบาตรของเรานั่นแหละมา.
ก็ในบทว่า ปวาริตานํ มีอธิบายว่า ในกุรุนทีท่านกล่าวว่า

ภิกษุมีบาตรเป็นแผลเพียง 5 แห่ง จะขอบาตรใหม่ในที่ที่เขาปวารณาไว้
ด้วยอำนาจแห่งสงฆ์ ควรอยู่, ถึงมีบาตรเป็นแผลหย่อน 5 แห่ง จะขอ
ในที่ที่เขาปวารณาไว้ด้วยอำนาจแห่งบุคคล ก็ควร ดังนี้. คำที่เหลือใน
สิกขาบทนี้ มีอรรถตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน 6 เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ
ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 ดังนี้แล.
อูนปัญจพันธนสิกขาบท จบ

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 3
เรื่องพระปิลินทวัจฉเถระ


[138] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิตคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน
พระปิลินทวัจฉะกำลังให้คนชำระเงื้อมเขาในเขตพระนครราชคฤห์ ประ-
สงค์จะทำเป็นสถานที่เร้น
ขณะนั้น พระเจ้าพิมพิสาร จอมพลมคธรัฐ เสด็จเข้าไปหาท่าน
พระปิลินทวัจฉะถึงสำนัก ทรงอภิวาทแล่งประทับนั่งเหนือพระราชอาสน์
อันควรส่วนข้างหนึ่ง ได้ตรัสถามท่านพระปิลินทวัจฉะว่า ข้าแด่พระคุณเจ้า
พระเถระกำลังให้เขาทำอะไรอยู่
ท่านพระปิลินทวัจฉะถวายพระพรว่า อาตมภาพกำลังให้เขาชำระ
เงื้อมเขาประสงค์จะทำเป็นสถานที่เร้น ขอถวายพระพร
พิ. พระคุณเจ้าจะต้องการคนทำการวัดบ้างไหม